เคปเลอร์ (ยานอวกาศ)
เคปเลอร์ (ยานอวกาศ)

เคปเลอร์ (ยานอวกาศ)

กล้องโทรทัศน์​อวกาศเคปเลอร์ (อังกฤษ: Kepler) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศของ นาซ่า ที่ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกโคจรอยู่รอบๆ ดาวฤกษ์ดวงอื่น[3] การตั้งชื่อกล้องโทรทัศน์อวกาศนำมาจากนักดาราศาสตร์ในศตวรรษที่ 17 โยฮันเนส เคปเลอร์[4] ขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2009[5] หลังจากการปฏิบัติงานมากว่า 9 ปี เชื้อเพลิงของยานอวกาศเคปเลอร์ก็หมดลงทำให้นาซาประกาศปลดระวางภารกิจในวันที่ 30 ตุลาคม 2018[6][7]กล้องโทรทัศน์อวกาศอันนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่คล้ายโลกที่โครจรอยู่ในเขตอาศัยได้และทำการประมาณค่าว่าดาวฤกษ์หลายพันล้านดาวในทางช้างเผือกมีดาวเคราะห์ดังกล่าวกี่ดวง[8][9][10] อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ติดไปกับตัวกล้องนั้นคือเครื่องวัดความเข้มแสงที่คอยตรวจสอบความต่อเนื่องของแสงสว่างของดาวฤกษ์ประมาณ 150,000 ดวงในแถบลำดับหลัก[11] จากนั้นกล้องนจะส่งข้อมูลกลับไปยังสถานีเพื่อทำการตรวงสอบการบังแสงของดาวเคราะห์ในขณะที่มันโคจรผ่านดาวฤกษ์ ช่วงตลอดเวลา 9 ปีของภาระกิจมันทำการสังเกตดาวฤกษ์กว่า 530,506 ดาวและค้นพบดาวเคราห์อีก 2,662 ดวง[12]

เคปเลอร์ (ยานอวกาศ)

องค์กร นาซ่า
วันขึ้นสู่อวกาศ 7 มีนาคม ค.ศ. 2009, 03:49:57.465 UTC
ระยะเวลาภารกิจ ≥ 7.5 ปี
เวลาผ่านไป: 11 ปี 5 เดือน 8 วัน
ขึ้นจาก Space Launch Complex 17-B
Cape Canaveral Air Force Station
เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.95 เมตร (3.1 ฟุต)
รหัส NSSDC 2009-011A
มวล 1,052 กก. (2,320 ปอนด์)
ความสูงวงโคจร AU
คาบการโคจร 372.5 days
ประเภทวงโคจร Earth-trailing heliocentric
พื้นที่ 0.708 m2[2]
ผู้รับเหมา Ball Aerospace & Technologies Corp.
ความยาวคลื่น 400–865 nm[1]
ยานขนส่ง Delta II (7925-10L)

แหล่งที่มา

WikiPedia: เคปเลอร์ (ยานอวกาศ) http://www.astronomycast.com/missions/ep-190-keple... http://www.nytimes.com/interactive/science/space/k... http://www.space.com/ http://www.space.com/searchforlife/080619-seti-ext... http://astro.phys.au.dk/KASC/ http://archive.stsci.edu/kepler/ http://archive.stsci.edu/kepler/koi/search.php http://phl.upr.edu/projects/habitable-exoplanets-c... http://exoplanet.eu/catalog.php http://www.kepler.arc.nasa.gov/